โครงสร้างอำนาจรัฐ (สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย) ของประเทศญี่ปุ่น [1] ของ การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น

  • ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นเดียวกับประเทศไทย ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) ยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน
อำนาจสามฝ่าย
  • อำนาจบริหาร กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ คือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นโดยนายกรัฐมนตรี ให้คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณและร่างพระราชบัญญัติอื่นๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศต่อสภาไดเอท รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลกระทรวงต่างๆทั้ง 12 กระทรวง
  • อำนาจตุลาการ ประกอบด้วยศาลฎีกาและศาลล่าง ซึ่งแบ่งออกเป็นศาลภาค มีทั้งหมด 8 แห่ง ศาลจังหวัด 50 แห่ง ศาลแขวง 575 แห่ง และศาลครอบครัว การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และการพิจารณาคดีตามกฎหมายอื่นๆเป็นหน้าที่ของข้าราชการอัยการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของอธิบดีกรมอัยการ
  • อำนาจนิติบัญญัติ สภาที่ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายของประเทศคือ สภาไดเอ็ท ( The National Diet ) ซึ่งเป็นสภาสูงสุดในการบริหารประเทศ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนชาวญี่ปุ่นทั้งหมด
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อำนาจหลักของสภาไดเอ็ท คือการออกเสียงลงคะแนนร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หรือลงคะแนนไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี บุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศคือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งจัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศ ต่อสภาไดเอ็ท รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชา และควบคุมดูแลกระทรวงต่าง ๆ ทั้ง 12 กระทรวง ส่วนราชการฝ่ายตุลาการประกอบด้วย ศาลฎีกา และศาลล่าง ซึ่งแบ่งออกเป็นศาลภาค มีทั้งหมด 8 แห่ง , ศาลจังหวัด มีทั้งหมด 50 แห่ง , ศาลแขวง มีทั้งหมด 575 แห่งและศาลครอบครัว การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และการพิจารณาคดีตามกฎหมายอื่น ๆ เป็นหน้าที่ของข้าราชการอัยการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของอธิบดีกรมอัยการ

ใกล้เคียง

การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น การคลอดก่อนกำหนด การคลังสาธารณะประเทศออสเตรเลีย การคลอด การคลุมถุงชน การคลังสาธารณะประเทศอังกฤษ การคลอดท่าก้น การคลอดติดไหล่ การคลอดลำบาก การคลอดทางช่องคลอด